เมนู

ทุกะทุกกฏ


เกินกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าหย่อน.. . ต้องอาบัติทุกกฏ.
เกินกึ่งเดือน ภิกษุสงสัย... ต้องอาบัติทุกกฏ.

ไม่ต้องอาบัติ


เกินกึ่งเดือน ภิกษุสำคัญว่าเกิน... ไม่ต้องอาบัติ.

อนาปัตติวาร


[618] ภิกษุอาบน้ำในสมัย 1 ภิกษุอาบน้ำในเวลากึ่งเดือน 1 ภิกษุ
อาบน้ำในเวลาเกินกึ่งเดือน 1 ภิกษุข้ามฟากอาบน้ำ 1 ภิกษุอาบน้ำในปัจจันต-
ชนบท ทุก ๆ แห่ง 1 ภิกษุอาบน้ำเพราะมีอันตราย 1 ภิกษุวิกลจริต 1 ภิกษุ
อาทิกัมมิกะ 1 ไม่ต้องอาบัติแล.
สุราปานวรรค สิกขาบทที่ 7 จบ

นหานสิกขาบทที่ 7


ในสิกขาบทที่ 7 มีวินิจฉัยดังนี้:-
ในคำว่า จุณฺเณน วา มตฺติกาย วา นี้ มีวินิจฉัยว่า เป็น
ทุกกฏ ทุก ๆ ประโยค เริ่มต้นแต่เวลาที่เตรียมแป้งและดินเป็นต้น .
ในคำว่า ปารํ คจฺฉนฺโต นหายติ นี้ มีวินิจฉัยว่า ภิกษุจะอาบน้ำ
ในหลุม (แอ่ง) ที่ตนคุ้ยทรายขึ้นทำไว้ในแม่น้ำแห้ง ควรอยู่.
บทว่า อาปทาสุ มีความว่า ภิกษุถูกแมลงภู่เป็นต้น ไล่ต่อยจะดำลง
ในน้ำ ก็ควร. บทที่เหลือในสิกขาบทนี้ ตื้นทั้งนั้นแล.
สิกขาบทนี้ มีสมฏฐานดุจเอฬกโลมสิกขาบท เป็นกิริยา โนสัญญา-
วิโมกข์ อจิตตกะ ปัณณัตติวัชชะ กายกรรม มีจิต 3 มีเวทนา 3 ดังนี้แล.
นหานสิกขาบทที่ 7 จบ

สุราปานวรรค สิกขาบทที่ 8


เรื่องภิกษุหลายรูป


[619] โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระ-
เชตวัน อารามของอนาถบินฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้น พวกภิกษุ
กับพวกปริพาชกต่างพากันเดินทาง จากเมืองสาเกตไปยังพระนครสาวัตถี ใน
ระหว่างทาง พวกโจรได้พากันออกมาแย่งชิงพวกภิกษุกับพวกปริพาชกเหล่านั้น
พวกเจ้าหน้าที่ได้ออกจากพระนครสาวัตถี ไปจับโจรเหล่านั้นได้พร้อมทั้งของ
กลาง แล้วส่งทูตไปในสำนักภิกษุทั้งหลายว่า นิมนต์พระคุณเจ้าทั้งหลายมา
จำจีวรของตน ๆ ไว้แล้วจงรับเอาไป ภิกษุทั้งหลายจำจีวรไม่ได้ ชาวบ้านพา
กันเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาว่า ไฉนพระคุณเจ้าทั้งหลายจำจีวรของตน ๆ
ไม่ได้เล่า ภิกษุทั้งหลายได้ยินชาวบ้านเหล่านั้นเพ่งโทษ ติเตียน โพนทะนาอยู่
จึงกราบทูลเรื่องนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า.

ประชุมสงฆ์ทรงบัญญัติสิกขาบท


ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งให้ประชุมภิกษุสงฆ์ ในเพราะเหตุ
เป็นเค้ามูลนั้น ในเพราะเหตุแรกเกิดนั้น ทรงทำธรรมีกถาที่สมควรแก่เรื่อง
นั้น ที่เหมาะสมแก่เรื่องนั้น แก่ภิกษุทั้งหลาย แล้วรับสั่งว่า ดูก่อนภิกษุทั้ง
หลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย อาศัยอำนาจ
ประโยชน์ 10 ประการ คือ เพื่อความรับว่าดีแห่งสงฆ์ 1 เพื่อความสำราญแห่ง
สงฆ์ 1. . . เพื่อความตั้งมั่นแห่งพระสัทธรรม 1 เพื่อถือความพระวินัย 1.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็แลพวกเธอพึงยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงอย่างนี้ว่า
ดังนี้:-